ประวัติสตีฟ จอบส์ Steve Jobs สมัยมีชีวิต
สตีเวน พอล จอบส์ (Steve Jobs) เกิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 เกิดที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรบุญธรรมของนายพอล และนางคลารา จอบส์ส่วนบิดา มารดาที่แท้จริงของจอ
สตีเวน พอล จอบส์ (Steve Jobs) เกิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 เกิดที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรบุญธรรมของนายพอล และนางคลารา จอบส์ส่วนบิดา มารดาที่แท้จริงของจอ
บส์
คือ บิดา อับดุลฟัตตะห์ จันดาลี มารดา โจแอน ซิมป์สัน สตีฟ จอบส์
เข้าพิธีสมรส กับ ลอเรนซ์ โพเวลล์ เมื่อวัน18 มีนาคม ค.ศ. 1991
และมีบุตรด้วยกันสามคน สตีฟ จอบส์ ยังมีลูกสาวหนึ่งคน ชื่อลิซา จอบส์
ที่เกิดจากสตรีผู้หนึ่งซึ่งเขาไม่ได้แต่งงานด้วย และ สตีฟ จอบส์
นับถือศาสนาพุทธ
การศึกษาของสตีฟ จอบส์
ในปีค.ศ. 1972 สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) จบการศึกษาจาก โฮมสตีดไฮสคูล ในเมืองคิวเปอร์ทีโน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย และได้สมัครเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยรีด (Reed College) ในเมืองพอร์ตแลนด์ มลรัฐโอเรกอน แต่ก็ต้องลาพักการเรียนหลังจากเข้าเรียนได้เพียงหนึ่งภาคการศึกษา หลายปีต่อมา ในปาฐกถาครั้งหนึ่งในพิธีสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปีค.ศ. 2005 สตีฟ จอบส์ (Steve jobs)ได้กล่าวว่าเพราะเขาลาพักเรียนไป จึงมีเวลาเข้าชั้นเรียนคัดตัวหนังสือ
“ถ้าผมไม่ได้เรียนวิชานั้นที่วิทยาลัยรีด เครื่องแมคอินทอชคงจะไม่มีรูปแบบอักษรหลากหลาย และปราศจากฟอนต์ที่มีการแบ่งระยะห่างอย่างถูกสัดส่วนเช่นนี้“
สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ผู้ร่วมก่อตั้งแอปเปิล
เขาร่วมก่อตั้งแอปเปิลคอมพิวเตอร์กับสตีฟ วอซเนียก
ปี ค.ศ. 1976 เป็นผู้มีส่วนช่วยทำให้แนวความคิดเรื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นที่นิยม ขึ้นมา ด้วยเครื่อง Apple II ต่อมา เขาเป็นผู้แรกที่มองเห็นศักยภาพทางการค้าของส่วนประสานงานผู้ใช้แบบกราฟิกส์ และเม้าส์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค ของบริษัทซีร็อกซ์ และได้มีการผนวกเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไว้ในเครื่องแมคอินทอช หลังพ่ายแพ้ในการแย่งชิงอำนาจกับคณะกรรมการบริหาร
ปี ค.ศ. 1984 สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ลาออกจากแอปเปิลและก่อตั้งเน็กซ์ บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและตลาดธุรกิจ การซื้อกิจการเน็กซ์ของแอปเปิล
ปี ค.ศ. 1996 ทำให้ จอบส์กลับเข้าทำงานในบริษัทแอปเปิลที่เขาร่วมก่อตั้งขึ้นนั้น และเขารับหน้าที่ CEO ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ถึง 2011 สตีฟ จอบส์ ยังเป็นประธานกรรมการบริหาร และผู้บริหารระดับสูงของพิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ ผู้นำด้านการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ ทั้งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ 50.1% กระทั่งบริษัทวอลต์ดิสนีย์ซื้อกิจการไป
ปี ค.ศ. 2006 สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) เป็นผู้ถือหุ้นมากที่สุดของดิสนีย์ที่ 7% และเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารของดิสนีย์ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ได้เข้ารับการผ่าตัดเอาเนื้องอกมะเร็งออกจากตับอ่อน เขาเป็นโรคมะเร็งในตับอ่อนซึ่งในแบบที่พบได้น้อยมาก ที่เรียกว่า “เนื้องอกในเซลล์ที่ผลิตอินซูลินอันส่งผลต่อระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของ ร่างกาย” (islet cell neuroendocrine tumor) ซึ่งเป็นเนื้องอกที่ไม่ต้องการเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัดแต่อย่างใด ระหว่างที่เขาป่วย ทิม คุก ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานขายและปฏิบัติการทั่วโลกของแอปเปิลเป็นผู้บริหาร งานแทน
ประวัติและชีวิตการทำงานของ สตีฟ จอบส์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิล
เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า สตีฟ จอบส์ (Steve Jobs) มักจะท้าทายขีดความสามารถของอุปกรณ์ไฮเทคอยู่เสมอ ชายที่มีเสน่ห์ดึงดูดผู้นี้ดูเหมือนจะรู้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไร ก่อนที่ผู้บริโภคจะรู้ความต้องการของตัวเองเสียอีก การที่เขานำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานง่ายออกสู่ตลาดให้คนส่วนใหญ่ได้ ใช้นั้น ทำให้งานอดิเรกของหนุ่มบ้าคอมพิวเตอร์คนหนึ่งกลายมาเป็นเสาหลักสำคัญในชีวิต ประจำวันของคนสมัยใหม่เลยทีเดียว เครื่องคอมพิวเตอร์แอปเปิล II (Apple II) ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นกับผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิล สตีฟ วอซเนียก (Steve Wozniak) ในโรงรถและได้วางขายเมื่อปี ค.ศ. 1977 ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง IBM ต้องกระวนกระวายรีบพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของตัวเองเพื่อวางขาย บ้าง แต่เมื่อถึงปี ค.ศ. 1985 ยอดขายที่ตกลงและบริษัทคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคู่แข่งอย่างวินโดว์ส บีบให้จอบส์ต้องลาออกจากบริษัทที่เขาเองร่วมก่อตั้งขึ้นมา
ในช่วงเวลาสิบปีต่อมา สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ได้เป็นผู้บริหารของบริษัทสองบริษัท คือ เนกซ์ (Next) บริษัทคอมพิวเตอร์ที่สร้างสรรค์พื้นฐานของซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการของบริษัท แอปเปิลในปัจจุบัน อย่าง Mac OS 10 และ บริษัท พิกซาร์ (Pixar) สตูดิโอสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่โด่งดังมาจากภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง ทอย สตอรี (Toy Story) เมื่อปี ค.ศ. 1997 ที่ สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ได้กลับมาอยู่กับแอปเปิล เขายังคงทำหน้าที่อยู่ในสองบริษัท คือเป็นทั้ง CEO ของพิกซาร์ และของแอปเปิล แต่สุดท้าย จอบส์ได้ขายพิกซาร์ให้กับดีสนีย์ โดยแลกกับหุ้นของดีสนีย์ในจำนวนที่มากขนาดที่ทำให้เขาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่สุดในบริษัทดีสนีย์
สตีฟ จอบส์ (Steve jobs)
สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ไม่ได้เฝ้าฝันและจิตนาการสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ขึ้นมา แต่ความเป็นอัจฉริยะของเขาอยู่ตรงที่สามารถสังเกตเห็นเทคโนโลยีน่าสนใจใหม่ๆ และนำมาประยุกต์ให้ผู้บริโภคทั่วไปใช้ได้ ในซีรีย์สารคดีเรื่อง “Triumph of the Nerds” ของสถานีโทรทัศน์ PBS ที่ออกอากาศเมื่อปี ค.ศ. 1996 จอบส์เคยพูดเอาไว้เองว่าบริษัทแอปเปิลเคยไม่อายที่จะต้องขโมยความคิดที่ยอด เยี่ยมของผู้อื่นมักปรากฏตัวบนเวที ในชุดที่เป็นเหมือนยูนิฟอร์มของเขา คือกางเกงยีนส์กับเสื้อคอเต่าสีดำ แล้วทำให้ผู้ชมตกอยู่ในภวังค์เมื่อฟังการอธิบายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แม็ค iPhone และ iPad รุ่นใหม่ๆ นวัตกรรมเหล่านี้ทำให้แอปเปิลเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยได้แซงหน้าคู่แข่งตลอดกาลอย่างไมโครซอฟท์ (Microsoft) ไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010
ภายใต้การบริหารงานของสตีฟ จอบส์ (Steve jobs) บริษัทแอปเปิลมักจะปิดการทำงานของบริษัทเป็นความลับมากเสียจนทำให้นักลงทุน และสื่อมวลชนหงุดหงิดกันอยู่บ่อยๆ อย่างไรก็ตาม เขาก็สามารถทำให้แอปเปิลลอยตัวขึ้นเป็นบริษัทที่มีมูลค่าการตลาดมากที่สุด เป็นอันดับสองของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นในทุกรูปแบบ
สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ลาออกจากการเป็น CEO ของแอปเปิลเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011 หลังจากต้องพักงานไปหลายครั้งเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งรวมถึงการปลูกถ่ายตับ และการเข้ารับการรักษามะเร็งในตับอ่อน (pancreas cancer)
“สตีฟ จ็อบส์ เสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับอ่อน ด้วยวัย 56 ปี เขาจากไปอย่างสงบ พร้อมกับขอบคุณผู้ที่ให้กำลังใจในการต่อสู้กับโรคร้ายตลอดหลายปีที่ผ่านมา“
สตีเฟน พอล จอบส์ (Steven Paul Jobs) ยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปในความทรงจำของคนในครอบครับ ซึ่งได้แก่ พี่สาวแท้ๆของเขา โมนา ซิมสัน ลูกสาว ลิซา เบรนเนน จอบส์ และภรรยาของเขา ลอรีน พาวเวล และลูกๆทั้งสามของพวกเขา
สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) เจ้าพ่อบริษัท แอปเปิล ผู้ล่วงลับเป็นบุคคลผู้คิดค้นนวัตกรรม ซึ่งเปลี่ยนแปลงโลก จ็อบส์ แตกต่างจากคนอื่นตรงที่เขาเลือกมองสิ่งที่คนอื่นมองข้าม และจ็อบส์ยังเชื่อมั่นในพลังแห่งการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่จะเนรมิตสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งไม่เพียงช่วยพัฒนาชีวิต แต่ยังเปลี่ยนแปลงโลกนี้ไปจากเดิม
(dmc.tv)
การศึกษาของสตีฟ จอบส์
ในปีค.ศ. 1972 สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) จบการศึกษาจาก โฮมสตีดไฮสคูล ในเมืองคิวเปอร์ทีโน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย และได้สมัครเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยรีด (Reed College) ในเมืองพอร์ตแลนด์ มลรัฐโอเรกอน แต่ก็ต้องลาพักการเรียนหลังจากเข้าเรียนได้เพียงหนึ่งภาคการศึกษา หลายปีต่อมา ในปาฐกถาครั้งหนึ่งในพิธีสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปีค.ศ. 2005 สตีฟ จอบส์ (Steve jobs)ได้กล่าวว่าเพราะเขาลาพักเรียนไป จึงมีเวลาเข้าชั้นเรียนคัดตัวหนังสือ
“ถ้าผมไม่ได้เรียนวิชานั้นที่วิทยาลัยรีด เครื่องแมคอินทอชคงจะไม่มีรูปแบบอักษรหลากหลาย และปราศจากฟอนต์ที่มีการแบ่งระยะห่างอย่างถูกสัดส่วนเช่นนี้“
สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ผู้ร่วมก่อตั้งแอปเปิล
เขาร่วมก่อตั้งแอปเปิลคอมพิวเตอร์กับสตีฟ วอซเนียก
ปี ค.ศ. 1976 เป็นผู้มีส่วนช่วยทำให้แนวความคิดเรื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นที่นิยม ขึ้นมา ด้วยเครื่อง Apple II ต่อมา เขาเป็นผู้แรกที่มองเห็นศักยภาพทางการค้าของส่วนประสานงานผู้ใช้แบบกราฟิกส์ และเม้าส์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค ของบริษัทซีร็อกซ์ และได้มีการผนวกเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไว้ในเครื่องแมคอินทอช หลังพ่ายแพ้ในการแย่งชิงอำนาจกับคณะกรรมการบริหาร
ปี ค.ศ. 1984 สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ลาออกจากแอปเปิลและก่อตั้งเน็กซ์ บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและตลาดธุรกิจ การซื้อกิจการเน็กซ์ของแอปเปิล
ปี ค.ศ. 1996 ทำให้ จอบส์กลับเข้าทำงานในบริษัทแอปเปิลที่เขาร่วมก่อตั้งขึ้นนั้น และเขารับหน้าที่ CEO ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ถึง 2011 สตีฟ จอบส์ ยังเป็นประธานกรรมการบริหาร และผู้บริหารระดับสูงของพิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ ผู้นำด้านการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ ทั้งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ 50.1% กระทั่งบริษัทวอลต์ดิสนีย์ซื้อกิจการไป
ปี ค.ศ. 2006 สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) เป็นผู้ถือหุ้นมากที่สุดของดิสนีย์ที่ 7% และเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารของดิสนีย์ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ได้เข้ารับการผ่าตัดเอาเนื้องอกมะเร็งออกจากตับอ่อน เขาเป็นโรคมะเร็งในตับอ่อนซึ่งในแบบที่พบได้น้อยมาก ที่เรียกว่า “เนื้องอกในเซลล์ที่ผลิตอินซูลินอันส่งผลต่อระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของ ร่างกาย” (islet cell neuroendocrine tumor) ซึ่งเป็นเนื้องอกที่ไม่ต้องการเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัดแต่อย่างใด ระหว่างที่เขาป่วย ทิม คุก ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานขายและปฏิบัติการทั่วโลกของแอปเปิลเป็นผู้บริหาร งานแทน
ประวัติและชีวิตการทำงานของ สตีฟ จอบส์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิล
เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า สตีฟ จอบส์ (Steve Jobs) มักจะท้าทายขีดความสามารถของอุปกรณ์ไฮเทคอยู่เสมอ ชายที่มีเสน่ห์ดึงดูดผู้นี้ดูเหมือนจะรู้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไร ก่อนที่ผู้บริโภคจะรู้ความต้องการของตัวเองเสียอีก การที่เขานำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานง่ายออกสู่ตลาดให้คนส่วนใหญ่ได้ ใช้นั้น ทำให้งานอดิเรกของหนุ่มบ้าคอมพิวเตอร์คนหนึ่งกลายมาเป็นเสาหลักสำคัญในชีวิต ประจำวันของคนสมัยใหม่เลยทีเดียว เครื่องคอมพิวเตอร์แอปเปิล II (Apple II) ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นกับผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิล สตีฟ วอซเนียก (Steve Wozniak) ในโรงรถและได้วางขายเมื่อปี ค.ศ. 1977 ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง IBM ต้องกระวนกระวายรีบพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของตัวเองเพื่อวางขาย บ้าง แต่เมื่อถึงปี ค.ศ. 1985 ยอดขายที่ตกลงและบริษัทคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคู่แข่งอย่างวินโดว์ส บีบให้จอบส์ต้องลาออกจากบริษัทที่เขาเองร่วมก่อตั้งขึ้นมา
ในช่วงเวลาสิบปีต่อมา สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ได้เป็นผู้บริหารของบริษัทสองบริษัท คือ เนกซ์ (Next) บริษัทคอมพิวเตอร์ที่สร้างสรรค์พื้นฐานของซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการของบริษัท แอปเปิลในปัจจุบัน อย่าง Mac OS 10 และ บริษัท พิกซาร์ (Pixar) สตูดิโอสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่โด่งดังมาจากภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง ทอย สตอรี (Toy Story) เมื่อปี ค.ศ. 1997 ที่ สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ได้กลับมาอยู่กับแอปเปิล เขายังคงทำหน้าที่อยู่ในสองบริษัท คือเป็นทั้ง CEO ของพิกซาร์ และของแอปเปิล แต่สุดท้าย จอบส์ได้ขายพิกซาร์ให้กับดีสนีย์ โดยแลกกับหุ้นของดีสนีย์ในจำนวนที่มากขนาดที่ทำให้เขาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่สุดในบริษัทดีสนีย์
สตีฟ จอบส์ (Steve jobs)
สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ไม่ได้เฝ้าฝันและจิตนาการสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ขึ้นมา แต่ความเป็นอัจฉริยะของเขาอยู่ตรงที่สามารถสังเกตเห็นเทคโนโลยีน่าสนใจใหม่ๆ และนำมาประยุกต์ให้ผู้บริโภคทั่วไปใช้ได้ ในซีรีย์สารคดีเรื่อง “Triumph of the Nerds” ของสถานีโทรทัศน์ PBS ที่ออกอากาศเมื่อปี ค.ศ. 1996 จอบส์เคยพูดเอาไว้เองว่าบริษัทแอปเปิลเคยไม่อายที่จะต้องขโมยความคิดที่ยอด เยี่ยมของผู้อื่นมักปรากฏตัวบนเวที ในชุดที่เป็นเหมือนยูนิฟอร์มของเขา คือกางเกงยีนส์กับเสื้อคอเต่าสีดำ แล้วทำให้ผู้ชมตกอยู่ในภวังค์เมื่อฟังการอธิบายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แม็ค iPhone และ iPad รุ่นใหม่ๆ นวัตกรรมเหล่านี้ทำให้แอปเปิลเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยได้แซงหน้าคู่แข่งตลอดกาลอย่างไมโครซอฟท์ (Microsoft) ไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010
ภายใต้การบริหารงานของสตีฟ จอบส์ (Steve jobs) บริษัทแอปเปิลมักจะปิดการทำงานของบริษัทเป็นความลับมากเสียจนทำให้นักลงทุน และสื่อมวลชนหงุดหงิดกันอยู่บ่อยๆ อย่างไรก็ตาม เขาก็สามารถทำให้แอปเปิลลอยตัวขึ้นเป็นบริษัทที่มีมูลค่าการตลาดมากที่สุด เป็นอันดับสองของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นในทุกรูปแบบ
สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) ลาออกจากการเป็น CEO ของแอปเปิลเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011 หลังจากต้องพักงานไปหลายครั้งเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งรวมถึงการปลูกถ่ายตับ และการเข้ารับการรักษามะเร็งในตับอ่อน (pancreas cancer)
“สตีฟ จ็อบส์ เสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับอ่อน ด้วยวัย 56 ปี เขาจากไปอย่างสงบ พร้อมกับขอบคุณผู้ที่ให้กำลังใจในการต่อสู้กับโรคร้ายตลอดหลายปีที่ผ่านมา“
สตีเฟน พอล จอบส์ (Steven Paul Jobs) ยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปในความทรงจำของคนในครอบครับ ซึ่งได้แก่ พี่สาวแท้ๆของเขา โมนา ซิมสัน ลูกสาว ลิซา เบรนเนน จอบส์ และภรรยาของเขา ลอรีน พาวเวล และลูกๆทั้งสามของพวกเขา
สตีฟ จอบส์ (Steve jobs) เจ้าพ่อบริษัท แอปเปิล ผู้ล่วงลับเป็นบุคคลผู้คิดค้นนวัตกรรม ซึ่งเปลี่ยนแปลงโลก จ็อบส์ แตกต่างจากคนอื่นตรงที่เขาเลือกมองสิ่งที่คนอื่นมองข้าม และจ็อบส์ยังเชื่อมั่นในพลังแห่งการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่จะเนรมิตสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งไม่เพียงช่วยพัฒนาชีวิต แต่ยังเปลี่ยนแปลงโลกนี้ไปจากเดิม
(dmc.tv)
No comments:
Post a Comment