The Dhammakaya technique is very simple for everyone.
Dhammakaya meditation is not a new practice, as many believe. It is the
original Buddha-Teaching. Dhammakaya meditation is the exact path that
the Buddha practiced. It is cited many times in the Tipitaka (Buddhist
Canon), and directly follows the Noble Eightfold Path which is
classified into the three categories of Sila or morality, Samatha or
Right Concentration, and Vipassana or Right Wisdom.
read more
คุณยายทองสุขสอนการทำสมาธิ
"อย่างเกร็งตัว อย่ากดลูกนัยน์ตา กำหนดบริกรรมนิมิต
และบริกรรมภาวนาเรื่อยไปกำหนดใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย
รู้เฉย ๆ ว่าใจเรานี้อยู่ที่ศูนย์ ฯ รู้เพียงเท่านี้ก่อน ไม่ต้องร้อนใจ
ทำใจให้เฉย ๆ เรื่อย ๆ ตัดความอยากรู้อยากเห็นเร็ว ๆ
นั้นเสีย ตัดความกังวล ยังไม่เห็นก็อย่าเสียใจ
ขอให้ทำให้ถูกต้องและมีความเพียรเถิด ธรรมะเป็น
ของจริง ถึงเวลาแล้วเห็นเอง เมื่อเห็นแล้วก็อย่าดีใจ
เกินไป เพราะจะทำให้นิมิตนั้นหายได้
ขณะที่ท่านสอนจะเรียบเรียงถ้อยคำ ลำดับเหตุ ลำดับ
ผลจัดวางความยากง่ายอย่างเหมาะสมกับศิษย์จนเข้าถึงแก่น
และการนำเรื่องเปรียบเทียบที่ให้ความกระจ่างแจ้งแก่เนื้อหา
ดังเช่นคำสอนของท่านที่ว่า
"ใจของเราเป็นของละเอียดไม่ใช่ของหยาบ ถึงแม้ใจเรา
จะไม่วอกแวกไปไหนต่อไหนแล้วก็ตาม แต่หากจะบังคับให้
หยุดทันทีก็ยังลำบาก เราต้องใช้วิธีตะล่อมใจทีละเล็กที
ละน้อย ใจเราก็จะยอมหยุดเอง
อุปมาเหมือนเราจะจับไก่เข้าเล้า หากใช้วิธีวิ่งพรวดพราด
เข้าไปจับ ไก่จะหนีไปจับตัวไว้ไม่ได้ แต่หากใช้วิธีค่อย ๆ
ตะล่อมเข้าหาไก่ เรียกไก่เข้ามา ไก่นั้นจะเชื่อง ยอมให้เราจับ
ได้โดยง่าย จึงเปรียบเหมือนเรา เมื่อเพ่งแรงเกินไปใจก็จะไม่
ยอมหยุด ก็หากค่อย ๆ ภาวนาประคับประคองนิมิตให้เห็นบ้าง
ไม่เห็นบ้าง ในที่สุดใจนั้นก็จะเชื่องหยุดในที่ตั้งของใจ คือ
ที่ศูนย์กลางกายนั้นเอง"
(Nalee Kantiya)
No comments:
Post a Comment