A Peaceful Mind

A Peaceful Mind
A Peaceful Mind

Sunday, May 19, 2013

นักโทษแห่งวัฏสงสาร

The Wheel of Life – Samsara

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า
แท้จริงแล้วโลกและจักรวาล ก็คือ

"คุกขังสรรพสัตว์ ที่ใหญ่โตมหาศาลสุดประมาณ"

จนกระทั่งนักโทษไม่เฉลียวใจว่า ตนกำลังติดคุกอยู่


พระสัมมสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบอีกว่า
คุกขังสรรพสัตว์ คือ โลกนี้ไม่มีอาหารเลี้ยงนักโทษ ต้องหากินเองใครอยากหากินอย่างไรก็ได้ ตามความพอใจ
ไม่เคยบอกวิธีหรือกติกา แต่มีข้อแม้ว่า 

"ห้ามผิดกฏแห่งกรรม"
ถ้าพลาดพลั้งทำผิดกฏแห่งกรรม ก็มีโทษทันที
ยิ่งทำผิดมากเท่าไร โทษก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น 

แม้ว่าเราจะไม่รู้ว่ามีกฏ ก็ไม่มีการละเว้นโทษ

เมื่อมนุษย์ทั้งโลกตกอยู่ในสภาพที่มีแต่โทษเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างนี้แล้ว สัตว์โลกจะต้องติดคุกไปอีกนานเท่าไร เมื่อไรจึงจะได้ออกจากคุก


วัฏสงสารยาวนานเท่าใด

การบรรลุวิชชา ๓ ทำให้พุทธองค์ ทรงค้นพบความจริงว่า
วัฏสงสารนี้มียาวนานจนไม่อาจกำหนดระยะเวลาเบื้องต้น
เบื้องกลาง และเบี้องปลาย
แต่ปัญหาก็คือ คนทั้งโลกไม่เฉลียวใจเลยว่า โลกนี้คือ

"คุกแห่งสังสารวัฏ"


ทุกคนกำลังเป็นนักโทษติดคุกนี้อยู่

ไม่รู้ว่าตนตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมและกฎไตรลักษณ์

ไม่มีใครรู้สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ตนประสบทุกข์

เพราะไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวยต่างก็มีทุกข์ทั้งสิ้น

จึงไม่มีใครช่วยใครให้พ้นทุกข์ได้อย่างเด็ดขาด
จำต้องเวียนว่านตายเกิด และทนทุกข์ทรมานอยู่ในคุกนี้โดยไม่รู้จบสิ้น โดยไม่มีใครตอบได้ว่า วัฎสงสารยาวนานเท่าใด


 กฏประจำคุก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า
โลกและจักรวาลมีกฎประจำคุก ๒ ประการ คือ

๑. กฎแห่งกรรม (Law of Karma)
ใช้ควบคุมมนุษย์อยู่ตลอดเวลาโดยไม่ยอมให้รู้ตัว
มีหลักการสั้นๆว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"

เจ้าของคุกไม่เคยบอกให้นักโทษรู้เลยว่า
มีกฏเหล็กประจำคุก ใครทำผิดกฎจะต้องถูกลงโทษสถานหนัก

สิ่งที่เจ้าของคุกนี้กลัวมากที่สุดก็คือ
กลัวนักโทษจะรู้ว่ามีกฎแห่งกรรมซ่อนอยู่
เพราะถ้านักโทษรู้ความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ
เดี๋ยวก็จะหาทางหนีออกจากคุกไปได้

เขาจึงพยายามปิดบังความจริงนี้ไว้

ไม่ยอมให้นักโทษรู้เด็ดขาด

๒. กฎไตรลักษณ์
ใช้ควบคุมในลักษณะแอบซ่อน

อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอน ไม่จีรังยั่งยืน

ทุกขัง คือ ความเป็นทุกข์
ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้น
จนกระทั่งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

อนัตตา คือ ความไม่เป็นตัวของตัวเอง
ไม่มีใครควบคุมบังคับบัญชาได้

กลไกของไตรลักษณ์นี้ อยู่ที่เวลา
สิ่งที่ปรากฏออกมาให้เห็นคือ
เร่งเวลาเดี๋ยววันเดี๋ยวคืน ให้รีบแก่ รีบเจ็บ รีบตาย

ยิ่งแก่ก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งเจ็บก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งตายก็ยิ่งทุกข์

ยิ่งกลับมาเกิดใหม่ก็ยิ่งทุกข์ ทุกข์กันซ้ำแล้วซ้ำเล่า
จนได้คำสรุปว่า

"ชีวิตนี้เป็นทุกข์"


กฎไตรลักษณ์จึงเป็นเครื่องมือบีบคั้นให้นักโทษ

เดือดเนื้อร้อนใจ แล้วทำผิดกฏแห่งกรรม



(หนังสือ นักโทษแห่งวัฏสงสาร โดย พระภาวนาวิริยคุณ)
โปรดติดตามตอนต่อไป

No comments:

Post a Comment