The Noble Eightfold Path: อริยมรรคมีองค์ ๘
พระพุทธองค์ ทรงยืนยันว่า
"บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม
ทางมีองค์แปดเป็นทางอันเกษม"
การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘
เป็นวิธีเดียวที่สามารถกำจัดกิเลสและทุกข์ทั้งปวงได้สำเร็จ
เป็นวิธีเดียวที่มวลมนุษยชาติจะใช้แหกคุกแห่งวัฏสงสารได้สำเร็จ
ใครก็ตามที่ได้รู้ความจริงของชีวิตข้อนี้ ถือว่ามีโชคมหาศาล
เพราะได้รู้ความจริงอันประเสริฐว่า จะต้องฝึกอบรมตนอย่างไร
จึงจะกำจัดกิเลสเด็ดขาด
"สิ้นกิเลสเมื่อใด สิ้นทุกข์เมื่อนั้น"
หลุดพ้นจากวัฏสงสารได้อย่างถาวร
เหมือนกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
"มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ นี้แล
ที่พระมสัมมามสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ เคยเสด็จไปแล้ว
เราก็ได้เดินตามหนทางอันประเสริฐ
ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันเป็นทางเก่านั้น
เมื่อกำลังเดินตามทางนั้นไป
ได้รู้ชัด ซึ่งชราและมรณะ
เหตุเกิดขึ้นแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ
และได้รู้ชัดซึ่งปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับชราและมรณะ..."
องค์ประกอบของอริยมรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย
๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นถูก
๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูก
๓. สัมมาวาจา การพูดถูก
๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำถูก
๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพถูก
๖. สัมมาวายามะ ความพยายามถูก
๗. สัมมาสติ ความระลึกถูก
๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นถูก
โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป
(นักโทษแห่งวัฏสงสาร โดย พระภาวนาวิริยคุณ)
A Peaceful Mind
Wednesday, May 22, 2013
Monday, May 20, 2013
ความจริงของชีวิตมนุษย์: นักโทษแห่งวัฏสงสาร Discovering the Truth of Life
Discovering the Truth of Life
ความจริงของชีวิตมนุษย์
ลูกไก่ลูกหมู ไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองมีสภาพเป็นนักโทษ
อยู่ตามบ้านเรือนต่างๆ ฉันใด
มนุษย์ทุกคนในโลกใบนี้ ก็ไม่เคยรู้สึกว่าตนเอง
มีสภาพเป็น "นักโทษอยู่ในคุกมหึมา"
มาตั้งแต่วันแรกเกิดจนถึงวันตาย ฉันนั้น
เราทำอะไรผิด จึงต้องมาติดคุกอยู่ในโลกใบนี้?
เราต่างเป็นนักโทษประหารที่ไม่เคยทราบเลยว่า
ตนเองเคยทำความผิดอะไรไว้บ้าง จึงต้องมาติดคุกใบนี้
ความจริงของชีวิตมนุษย์
ลูกไก่ลูกหมู ไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองมีสภาพเป็นนักโทษ
อยู่ตามบ้านเรือนต่างๆ ฉันใด
มนุษย์ทุกคนในโลกใบนี้ ก็ไม่เคยรู้สึกว่าตนเอง
มีสภาพเป็น "นักโทษอยู่ในคุกมหึมา"
มาตั้งแต่วันแรกเกิดจนถึงวันตาย ฉันนั้น
เราทำอะไรผิด จึงต้องมาติดคุกอยู่ในโลกใบนี้?
เราต่างเป็นนักโทษประหารที่ไม่เคยทราบเลยว่า
ตนเองเคยทำความผิดอะไรไว้บ้าง จึงต้องมาติดคุกใบนี้
เราจะต้องติดคุกอยูในโลกนี้ต่อไปอีกนานเท่าไร?
ไม่ทราบ และไม่มีทางทราบเลยว่า
จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในคุกนี้ต่อไปอีกนานแค่ไหน
ดังนั้น จึงไม่แปลกใจเลยว่า เวลาอยากจะทำความดีอะไรขึ้นมา
ทั้งๆที่รู้ว่าเป็นความดีแน่ๆ แต่กลับไม่สามารถทำได้ อย่างอิสระเสรีมักจะมีอุปสรรคเข้ามาขัดขวางอยู่เรื่อยไป
ไม่ทราบ และไม่มีทางทราบเลยว่า
จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในคุกนี้ต่อไปอีกนานแค่ไหน
ดังนั้น จึงไม่แปลกใจเลยว่า เวลาอยากจะทำความดีอะไรขึ้นมา
ทั้งๆที่รู้ว่าเป็นความดีแน่ๆ แต่กลับไม่สามารถทำได้ อย่างอิสระเสรีมักจะมีอุปสรรคเข้ามาขัดขวางอยู่เรื่อยไป
ยิ่งกว่านั้น ทั้งๆที่เราตั้งใจทำความดี แต่ผลของความดีกลับยังไม่ปรากฏ หรือปรากฏให้เห็นแบบกะพร่องกะแพร่ง มิหนำซ้ำวันร้ายคืนร้ายกลับมีโทษหนักเพิ่มขึ้นอีกด้วย
โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป
(นักโทษแห่งวัฏสงสาร โดย พระภาวนาวิริยคุณ)
โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป
(นักโทษแห่งวัฏสงสาร โดย พระภาวนาวิริยคุณ)
Truth of Life: นักโทษแห่งวัฏสงสาร
อุปสรรคบนเส้นทางนักสร้างบารมี
"ตักบาตรพระมาแล้ว เป็นพันเป็นหมื่นรูป
ทำบุญไม่เคยขาดสายแม้แต้วันเดียว
ทำไม? บ้านยังถูกน้ำท่วม
ทำไม? ยังประสบภัยพิบัติต่างๆได้ "บุญ" ไม่ช่วยบ้างเลยหรือ "
"ตักบาตรพระมาแล้ว เป็นพันเป็นหมื่นรูป
ทำบุญไม่เคยขาดสายแม้แต้วันเดียว
ทำไม? บ้านยังถูกน้ำท่วม
ทำไม? ยังประสบภัยพิบัติต่างๆได้ "บุญ" ไม่ช่วยบ้างเลยหรือ "
มีความจริงตามธรรมชาติ ชนิดข้ามภพข้ามชาติ
อยู่สองเรื่องใหญ่
๑. ธรรมชาติแท้จริงของชีวิตมนุษย์
๒. ธรรมชาติแท้จริงของโลกและจักรวาล
ธรรมชาติแท้จริงของชีวิตมนุษย์
แท้จริงแล้วมนุษย์ทุกคนคือ "นักโทษประหาร"
ที่ถูกคุมขังอยู่ในโลกนี้ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งวันตาย
ธรรมชาติแท้จริงของโลกและจักรวาล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า
แท้จริงแล้วโลกและจักรวาล ก็คือ
"คุกขังสรรพสัตว์ที่ใหญ่โตมหาศาลสุดประมาณ"
จนกระทั่งนักโทษ ไม่เฉลียวใจว่าตนกำลังติดคุกอยู่
โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป
(นักโทษแห่งวัฏสงสาร โดย พระภาวนาวิริยคุณ)
Delusion: Ignorance
ทำผิดทั้งๆที่รู้
ทำไม คนเราชอบทำผิด ทั้งๆ ที่รู้ว่าผิด ?
อะไรๆ ก็รู้หมดแต่อดไม่ได้ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
การทำผิดทั้งๆที่รู้ ก็ยังดีกว่า ทำผิดโดยไม่รู้
คนโง่ที่สุด คือ ไม่รู้ว่าตนเองไม่รู้
ก็เลยดันทุรัง เรียกว่า หลงผิด หลงติด หลงตนเอง
การทำผิดทั้งๆ ที่รู้ เมื่อทำแล้วก็เสียใจ เจ็บใจตนเอง
นั้นเป็นเพราะว่า มี อินทรีย์ อ่อน
อินทรีย์ ๕ มี :- ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ ปัญญา
อินทรีย์ หมายถึง ตัวตนของเรา ที่จะเป็นที่พึ่งของตน
พระเตมีย์ ท่านมี อินทรีย์ แก่ ระลึกชาติได้ ว่าเคยตกนรกมา
๘๔,๐๐๐ ปี จึงเกิด หิริโอตัปปะ อย่างท่วมท้น
แกล้งทำเป็นใบ้ และง่อยเปลี้ย
เพราะไม่อยากเป็น พระราชา ที่จะต้องสั่งฆ่าคน
พวก อินทรีย์อ่อน นี้จะประมาท เป็นคน ไม่ จริงจัง/สัจจะ
ไม่ ปรารภความเพียร/ชาคริยานุโยค
ทั้งนี้เพราะไม่ปฏิบัติตาม วุฒิธรรม ๔
โดยเฉพาะข้อ ตรองคำครู/โยนิโสมนสิการะ
ถ้าไม่ผ่าน ก็ไม่ถึง ธัมมานุธัมมปฏิบัติ คือ ไม่ปรารภความเพียร
วิธี การตรองคำครู คือ สุ จิ ปุ ลิ
สุ = สุตะ/ตั้งใจฟังหรืออ่าน
จิ = จินตะ/ตั้งใจคิด
ปุ = ปุจฉา/ตั้งใจถาม หรือตั้งคำถามๆ ตนเอง
ลิ = ตั้งใจเขียน หรือจด
ข้อสุดท้ายนี้สำคัญมาก
ทำให้เป็น พหูสูต รู้กว้าง รู้ไกล รู้ลึก
ทำให้เจาะลึกได้อย่างไม่จำกัด
ทำไม อินทรีย์จึงอ่อน?
ก็เพราะแม้พบ ครูดี แล้ว
แต่ขาด ความเคารพ ความกตัญญู และศรัทธา
จึงไม่อาจก้าวข้าม อบายมุข ได้
อบายมุข เป็นเครื่องเนิ่นช้า ดับ ปัญญา ไม่กลัวไม่อายบาป
ตัวอย่างที่ดี ก็คือ เทวทัต ขนาดเหาะได้ ก็ยังหลงได้
เจริญพร
Phranarong Sroytong
ทำผิดทั้งๆที่รู้
ทำไม คนเราชอบทำผิด ทั้งๆ ที่รู้ว่าผิด ?
อะไรๆ ก็รู้หมดแต่อดไม่ได้ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
การทำผิดทั้งๆที่รู้ ก็ยังดีกว่า ทำผิดโดยไม่รู้
คนโง่ที่สุด คือ ไม่รู้ว่าตนเองไม่รู้
ก็เลยดันทุรัง เรียกว่า หลงผิด หลงติด หลงตนเอง
การทำผิดทั้งๆ ที่รู้ เมื่อทำแล้วก็เสียใจ เจ็บใจตนเอง
นั้นเป็นเพราะว่า มี อินทรีย์ อ่อน
อินทรีย์ ๕ มี :- ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ ปัญญา
อินทรีย์ หมายถึง ตัวตนของเรา ที่จะเป็นที่พึ่งของตน
พระเตมีย์ ท่านมี อินทรีย์ แก่ ระลึกชาติได้ ว่าเคยตกนรกมา
๘๔,๐๐๐ ปี จึงเกิด หิริโอตัปปะ อย่างท่วมท้น
แกล้งทำเป็นใบ้ และง่อยเปลี้ย
เพราะไม่อยากเป็น พระราชา ที่จะต้องสั่งฆ่าคน
พวก อินทรีย์อ่อน นี้จะประมาท เป็นคน ไม่ จริงจัง/สัจจะ
ไม่ ปรารภความเพียร/ชาคริยานุโยค
ทั้งนี้เพราะไม่ปฏิบัติตาม วุฒิธรรม ๔
โดยเฉพาะข้อ ตรองคำครู/โยนิโสมนสิการะ
ถ้าไม่ผ่าน ก็ไม่ถึง ธัมมานุธัมมปฏิบัติ คือ ไม่ปรารภความเพียร
วิธี การตรองคำครู คือ สุ จิ ปุ ลิ
สุ = สุตะ/ตั้งใจฟังหรืออ่าน
จิ = จินตะ/ตั้งใจคิด
ปุ = ปุจฉา/ตั้งใจถาม หรือตั้งคำถามๆ ตนเอง
ลิ = ตั้งใจเขียน หรือจด
ข้อสุดท้ายนี้สำคัญมาก
ทำให้เป็น พหูสูต รู้กว้าง รู้ไกล รู้ลึก
ทำให้เจาะลึกได้อย่างไม่จำกัด
ทำไม อินทรีย์จึงอ่อน?
ก็เพราะแม้พบ ครูดี แล้ว
แต่ขาด ความเคารพ ความกตัญญู และศรัทธา
จึงไม่อาจก้าวข้าม อบายมุข ได้
อบายมุข เป็นเครื่องเนิ่นช้า ดับ ปัญญา ไม่กลัวไม่อายบาป
ตัวอย่างที่ดี ก็คือ เทวทัต ขนาดเหาะได้ ก็ยังหลงได้
เจริญพร
Phranarong Sroytong
The Law of Karma: Cause and Effect
กิ เ ล ส - ก ร ร ม - วิ บ า ก
สิ่งที่ทำด้วยบาปอกุศลล้วนแต่มีวิบากทั้งสิ้น กิเลส-กรรม-วิบาก มีผลทั้งสิ้น ที่ไม่มีผลเป็นไม่มี แต่ผลบางอย่างเกิดขึ้นปัจจุบัน บางอย่างหลังจากตายแล้ว หลังจากตายแล้วเรามองไม่เ ห็น เรานึกว่ามันไม่มี
กฎแห่งกรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เป็นผู้ออกฎ แต่ท่านไปรู้ไปเห็นมา แม้แต่ตัวท่านก็ยังต้องเสวยวิบาก แม้ในชาติปัจจุบันที่เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เราจะไปเชื่อตอนเป็นหรือจะไปเห็นตอนตาย เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้เราจะได้ดำเนินชีวิตไม่ผิดพลาด
กฎแห่งกรรมไม่เว้นใครเลย ในเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่เป็นยอดมนุษย์ ท่านยังเจออย่างนั้น แล้วที่ไม่ใช่ล่ะ จะหนีไปไหน
อนุบาลฝันในฝันฯ (รอบทบทวนเอง)
Coke Alongkorn
กิ เ ล ส - ก ร ร ม - วิ บ า ก
สิ่งที่ทำด้วยบาปอกุศลล้วนแต่มีวิบากทั้งสิ้น กิเลส-กรรม-วิบาก มีผลทั้งสิ้น ที่ไม่มีผลเป็นไม่มี แต่ผลบางอย่างเกิดขึ้นปัจจุบัน บางอย่างหลังจากตายแล้ว หลังจากตายแล้วเรามองไม่เ ห็น เรานึกว่ามันไม่มี
กฎแห่งกรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เป็นผู้ออกฎ แต่ท่านไปรู้ไปเห็นมา แม้แต่ตัวท่านก็ยังต้องเสวยวิบาก แม้ในชาติปัจจุบันที่เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เราจะไปเชื่อตอนเป็นหรือจะไปเห็นตอนตาย เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้เราจะได้ดำเนินชีวิตไม่ผิดพลาด
กฎแห่งกรรมไม่เว้นใครเลย ในเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่เป็นยอดมนุษย์ ท่านยังเจออย่างนั้น แล้วที่ไม่ใช่ล่ะ จะหนีไปไหน
อนุบาลฝันในฝันฯ (รอบทบทวนเอง)
Coke Alongkorn
Sunday, May 19, 2013
"พญามาร" The Evil One จาก นักโทษแห่งวัฏสงสาร
MARA, The Evil One
ใคร คือ ผู้ควบคุมวัฏสงสาร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบอกไว้ว่า ใครเป็นผู้สร้างวัฏสงสาร
ทรงพบแต่เพียงว่า วัฏสงสารมีมาก่อนยาวนาน ก่อนจะทรงตรัสรู้เสียอีก
ยิ่งกว่านั้นยังพบว่า ในเวลาใดที่จะมีผู้หลุดพ้นออกจากวัฏสงสาร
จะมีผู้แสดงตัวออกมา คือ "พญามาร"
มารไม่ต้องการให้ใครหลุดพ้นไปจากวัฏสงสารได้เลยแม้แต่คนเดียว
พยายามปิดบังหนทางสายเดียวคือ
"อริยมรรคมีองค์ ๘"
ที่จะเอื้อให้สามารถแหกคุกออกจากวัฏสงสารได้สำเร็จไว้ตลอดเวลา
ส่วนใครที่รู้แล้วหลุดพ้นไปแล้ว มารก็รีบขับไล่ให้เข้านิพพานไป
ไม่ยอมให้มีเวลาเปิดโปงความจริงของโลกและชีวิตมากนัก
ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า มารนั้นทั้งเกลียดทั้งกล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อย่างชนิดเข้ากระดูกดำ
"เกลียด" เพราะทำอันตรายใดๆ พระพุทธองค์ไม่ได้
จึงต้องหาทางขัดขวาง
การทำงานเผยแผ่ด้วยวิชามารทุกหนทาง
"กลัว" เพราะหากปล่อยให้พระพุทธองค์มีพระชนม์ชีพอยู่นานเท่าไร
ก็จะพานักโทษแหกคุกออก ไปจากวัฏสงสารมากเท่านั้น
จึงต้องเร่งเร้าให้พระพุทธองค์นิพพานเสีย
จากพฤติกรรมของมาร ย่อมสรุปได้ว่า
๑. มาร คือ ผู้ใช้กิเลสควบคุมใจมนุษย์
๒. มาร คือ ผู้ควบคุมคุกแห่งวัฏสงสาร
(นักโทษแห่งวัฏสงสาร โดย พระภาวนาวิริยคุณ)
สำหรับ "อริยมรรคมีองค์ ๘" สำคัญอย่างไร คืออะไร
โปรดติดตามตอนต่อไป
ใคร คือ ผู้ควบคุมวัฏสงสาร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบอกไว้ว่า ใครเป็นผู้สร้างวัฏสงสาร
ทรงพบแต่เพียงว่า วัฏสงสารมีมาก่อนยาวนาน ก่อนจะทรงตรัสรู้เสียอีก
ยิ่งกว่านั้นยังพบว่า ในเวลาใดที่จะมีผู้หลุดพ้นออกจากวัฏสงสาร
จะมีผู้แสดงตัวออกมา คือ "พญามาร"
มารไม่ต้องการให้ใครหลุดพ้นไปจากวัฏสงสารได้เลยแม้แต่คนเดียว
พยายามปิดบังหนทางสายเดียวคือ
"อริยมรรคมีองค์ ๘"
ที่จะเอื้อให้สามารถแหกคุกออกจากวัฏสงสารได้สำเร็จไว้ตลอดเวลา
ส่วนใครที่รู้แล้วหลุดพ้นไปแล้ว มารก็รีบขับไล่ให้เข้านิพพานไป
ไม่ยอมให้มีเวลาเปิดโปงความจริงของโลกและชีวิตมากนัก
ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า มารนั้นทั้งเกลียดทั้งกล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อย่างชนิดเข้ากระดูกดำ
"เกลียด" เพราะทำอันตรายใดๆ พระพุทธองค์ไม่ได้
จึงต้องหาทางขัดขวาง
การทำงานเผยแผ่ด้วยวิชามารทุกหนทาง
"กลัว" เพราะหากปล่อยให้พระพุทธองค์มีพระชนม์ชีพอยู่นานเท่าไร
ก็จะพานักโทษแหกคุกออก ไปจากวัฏสงสารมากเท่านั้น
จึงต้องเร่งเร้าให้พระพุทธองค์นิพพานเสีย
จากพฤติกรรมของมาร ย่อมสรุปได้ว่า
๑. มาร คือ ผู้ใช้กิเลสควบคุมใจมนุษย์
๒. มาร คือ ผู้ควบคุมคุกแห่งวัฏสงสาร
(นักโทษแห่งวัฏสงสาร โดย พระภาวนาวิริยคุณ)
สำหรับ "อริยมรรคมีองค์ ๘" สำคัญอย่างไร คืออะไร
โปรดติดตามตอนต่อไป
Happiness: โลกอยู่ได้ด้วยการให้ จาก หลวงพ่อธัมมชโย
“Happiness doesn't result from what we get, but from what we give"
"โลกอยู่ได้ด้วยการให้
การให้เป็นความสุขอันวิเศษ
เราจะรู้จักความสุขชนิดนี้ได้ต่อเมื่อเราได้ให้"
พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)
"โลกอยู่ได้ด้วยการให้
การให้เป็นความสุขอันวิเศษ
เราจะรู้จักความสุขชนิดนี้ได้ต่อเมื่อเราได้ให้"
พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)
The Middle Way: เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในอันเป็นที่พึ่งที่ระลึก
The Middle Way: The Way to Enlightenment
เมื่อจิตของเราหยุดนิ่ง บริสุทธิ์ ผ่องใสแล้ว
จะเกิดความเพลินที่ยิ่งใหญ่
เป็นความเพลินที่ประกอบไปด้วยดวงปัญญา
ทำให้เราได้รู้ ได้เห็น ได้เข้าใจเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในอันเป็นที่พึ่งที่ระลึก
เข้าถึงเมื่อไหร่ก็อบอุ่นใจ ปลอดภัย และมีความสุข
จะเปลี่ยนเราจาก "ผู้ไม่รู้ " มาเป็น "ผู้รู้"
จาก "ผู้หลับ" มาเป็น "ผู้ตื่น"
จาก "ผู้มีความทุกข์" มาเป็น "ผู้เบิกบาน"
หัวใจเราจะขยายไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เมื่อจิตของเราหยุดนิ่ง บริสุทธิ์ ผ่องใสแล้ว
จะเกิดความเพลินที่ยิ่งใหญ่
เป็นความเพลินที่ประกอบไปด้วยดวงปัญญา
ทำให้เราได้รู้ ได้เห็น ได้เข้าใจเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในอันเป็นที่พึ่งที่ระลึก
เข้าถึงเมื่อไหร่ก็อบอุ่นใจ ปลอดภัย และมีความสุข
จะเปลี่ยนเราจาก "ผู้ไม่รู้ " มาเป็น "ผู้รู้"
จาก "ผู้หลับ" มาเป็น "ผู้ตื่น"
จาก "ผู้มีความทุกข์" มาเป็น "ผู้เบิกบาน"
หัวใจเราจะขยายไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)
นักโทษแห่งวัฏสงสาร
The Wheel of Life – Samsara
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า
แท้จริงแล้วโลกและจักรวาล ก็คือ
"คุกขังสรรพสัตว์ ที่ใหญ่โตมหาศาลสุดประมาณ"
จนกระทั่งนักโทษไม่เฉลียวใจว่า ตนกำลังติดคุกอยู่
พระสัมมสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบอีกว่า
คุกขังสรรพสัตว์ คือ โลกนี้ไม่มีอาหารเลี้ยงนักโทษ ต้องหากินเองใครอยากหากินอย่างไรก็ได้ ตามความพอใจ
ไม่เคยบอกวิธีหรือกติกา แต่มีข้อแม้ว่า
"ห้ามผิดกฏแห่งกรรม"
ถ้าพลาดพลั้งทำผิดกฏแห่งกรรม ก็มีโทษทันที
ยิ่งทำผิดมากเท่าไร โทษก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
แม้ว่าเราจะไม่รู้ว่ามีกฏ ก็ไม่มีการละเว้นโทษ
เมื่อมนุษย์ทั้งโลกตกอยู่ในสภาพที่มีแต่โทษเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างนี้แล้ว สัตว์โลกจะต้องติดคุกไปอีกนานเท่าไร เมื่อไรจึงจะได้ออกจากคุก
วัฏสงสารยาวนานเท่าใด
การบรรลุวิชชา ๓ ทำให้พุทธองค์ ทรงค้นพบความจริงว่า
วัฏสงสารนี้มียาวนานจนไม่อาจกำหนดระยะเวลาเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบี้องปลาย
แต่ปัญหาก็คือ คนทั้งโลกไม่เฉลียวใจเลยว่า โลกนี้คือ
"คุกแห่งสังสารวัฏ"
ทุกคนกำลังเป็นนักโทษติดคุกนี้อยู่
ไม่รู้ว่าตนตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมและกฎไตรลักษณ์
ไม่มีใครรู้สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ตนประสบทุกข์
เพราะไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวยต่างก็มีทุกข์ทั้งสิ้น
จึงไม่มีใครช่วยใครให้พ้นทุกข์ได้อย่างเด็ดขาด
จำต้องเวียนว่านตายเกิด และทนทุกข์ทรมานอยู่ในคุกนี้โดยไม่รู้จบสิ้น โดยไม่มีใครตอบได้ว่า วัฎสงสารยาวนานเท่าใด
กฏประจำคุก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า
โลกและจักรวาลมีกฎประจำคุก ๒ ประการ คือ
๑. กฎแห่งกรรม (Law of Karma)
ใช้ควบคุมมนุษย์อยู่ตลอดเวลาโดยไม่ยอมให้รู้ตัว
มีหลักการสั้นๆว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"
เจ้าของคุกไม่เคยบอกให้นักโทษรู้เลยว่า
มีกฏเหล็กประจำคุก ใครทำผิดกฎจะต้องถูกลงโทษสถานหนัก
สิ่งที่เจ้าของคุกนี้กลัวมากที่สุดก็คือ
กลัวนักโทษจะรู้ว่ามีกฎแห่งกรรมซ่อนอยู่
เพราะถ้านักโทษรู้ความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ
เดี๋ยวก็จะหาทางหนีออกจากคุกไปได้
เขาจึงพยายามปิดบังความจริงนี้ไว้
ไม่ยอมให้นักโทษรู้เด็ดขาด
๒. กฎไตรลักษณ์
ใช้ควบคุมในลักษณะแอบซ่อน
อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอน ไม่จีรังยั่งยืน
ทุกขัง คือ ความเป็นทุกข์
ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้น
จนกระทั่งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
อนัตตา คือ ความไม่เป็นตัวของตัวเอง
ไม่มีใครควบคุมบังคับบัญชาได้
กลไกของไตรลักษณ์นี้ อยู่ที่เวลา
สิ่งที่ปรากฏออกมาให้เห็นคือ
เร่งเวลาเดี๋ยววันเดี๋ยวคืน ให้รีบแก่ รีบเจ็บ รีบตาย
ยิ่งแก่ก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งเจ็บก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งตายก็ยิ่งทุกข์
ยิ่งกลับมาเกิดใหม่ก็ยิ่งทุกข์ ทุกข์กันซ้ำแล้วซ้ำเล่า
จนได้คำสรุปว่า
"ชีวิตนี้เป็นทุกข์"
กฎไตรลักษณ์จึงเป็นเครื่องมือบีบคั้นให้นักโทษ
เดือดเนื้อร้อนใจ แล้วทำผิดกฏแห่งกรรม
(หนังสือ นักโทษแห่งวัฏสงสาร โดย พระภาวนาวิริยคุณ)
โปรดติดตามตอนต่อไป
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า
แท้จริงแล้วโลกและจักรวาล ก็คือ
"คุกขังสรรพสัตว์ ที่ใหญ่โตมหาศาลสุดประมาณ"
จนกระทั่งนักโทษไม่เฉลียวใจว่า ตนกำลังติดคุกอยู่
พระสัมมสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบอีกว่า
คุกขังสรรพสัตว์ คือ โลกนี้ไม่มีอาหารเลี้ยงนักโทษ ต้องหากินเองใครอยากหากินอย่างไรก็ได้ ตามความพอใจ
ไม่เคยบอกวิธีหรือกติกา แต่มีข้อแม้ว่า
"ห้ามผิดกฏแห่งกรรม"
ถ้าพลาดพลั้งทำผิดกฏแห่งกรรม ก็มีโทษทันที
ยิ่งทำผิดมากเท่าไร โทษก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
แม้ว่าเราจะไม่รู้ว่ามีกฏ ก็ไม่มีการละเว้นโทษ
เมื่อมนุษย์ทั้งโลกตกอยู่ในสภาพที่มีแต่โทษเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างนี้แล้ว สัตว์โลกจะต้องติดคุกไปอีกนานเท่าไร เมื่อไรจึงจะได้ออกจากคุก
วัฏสงสารยาวนานเท่าใด
การบรรลุวิชชา ๓ ทำให้พุทธองค์ ทรงค้นพบความจริงว่า
วัฏสงสารนี้มียาวนานจนไม่อาจกำหนดระยะเวลาเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบี้องปลาย
แต่ปัญหาก็คือ คนทั้งโลกไม่เฉลียวใจเลยว่า โลกนี้คือ
"คุกแห่งสังสารวัฏ"
ทุกคนกำลังเป็นนักโทษติดคุกนี้อยู่
ไม่รู้ว่าตนตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมและกฎไตรลักษณ์
ไม่มีใครรู้สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ตนประสบทุกข์
เพราะไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวยต่างก็มีทุกข์ทั้งสิ้น
จึงไม่มีใครช่วยใครให้พ้นทุกข์ได้อย่างเด็ดขาด
จำต้องเวียนว่านตายเกิด และทนทุกข์ทรมานอยู่ในคุกนี้โดยไม่รู้จบสิ้น โดยไม่มีใครตอบได้ว่า วัฎสงสารยาวนานเท่าใด
กฏประจำคุก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า
โลกและจักรวาลมีกฎประจำคุก ๒ ประการ คือ
๑. กฎแห่งกรรม (Law of Karma)
ใช้ควบคุมมนุษย์อยู่ตลอดเวลาโดยไม่ยอมให้รู้ตัว
มีหลักการสั้นๆว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"
เจ้าของคุกไม่เคยบอกให้นักโทษรู้เลยว่า
มีกฏเหล็กประจำคุก ใครทำผิดกฎจะต้องถูกลงโทษสถานหนัก
สิ่งที่เจ้าของคุกนี้กลัวมากที่สุดก็คือ
กลัวนักโทษจะรู้ว่ามีกฎแห่งกรรมซ่อนอยู่
เพราะถ้านักโทษรู้ความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ
เดี๋ยวก็จะหาทางหนีออกจากคุกไปได้
เขาจึงพยายามปิดบังความจริงนี้ไว้
ไม่ยอมให้นักโทษรู้เด็ดขาด
๒. กฎไตรลักษณ์
ใช้ควบคุมในลักษณะแอบซ่อน
อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอน ไม่จีรังยั่งยืน
ทุกขัง คือ ความเป็นทุกข์
ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้น
จนกระทั่งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
อนัตตา คือ ความไม่เป็นตัวของตัวเอง
ไม่มีใครควบคุมบังคับบัญชาได้
กลไกของไตรลักษณ์นี้ อยู่ที่เวลา
สิ่งที่ปรากฏออกมาให้เห็นคือ
เร่งเวลาเดี๋ยววันเดี๋ยวคืน ให้รีบแก่ รีบเจ็บ รีบตาย
ยิ่งแก่ก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งเจ็บก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งตายก็ยิ่งทุกข์
ยิ่งกลับมาเกิดใหม่ก็ยิ่งทุกข์ ทุกข์กันซ้ำแล้วซ้ำเล่า
จนได้คำสรุปว่า
"ชีวิตนี้เป็นทุกข์"
กฎไตรลักษณ์จึงเป็นเครื่องมือบีบคั้นให้นักโทษ
เดือดเนื้อร้อนใจ แล้วทำผิดกฏแห่งกรรม
(หนังสือ นักโทษแห่งวัฏสงสาร โดย พระภาวนาวิริยคุณ)
โปรดติดตามตอนต่อไป
Subscribe to:
Posts (Atom)